วันอังคารที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

การประเมินใช้เครื่องมือบล๊อก

การประเมินการใช้บล็อกนี้
ให้นักศึกษาที่เรียนวิชานี้ แสดงความคิดเห็นการใช้บล็อกดังนี้
1. นักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติงานทำงานส่งอาจารย์แล้วมีความคิดเห็นเป็นอย่างไร
รู้สึกได้ว่าอาจารย์ต้องการให้นักศึกษาสืบค้นหาข้อมูลด้วยตนเองและต้องการให้นักศึกษาเอาข้อมูลที่ได้มาวิเคราะห์ด้วยเพื่อให้นักศึกษามีความคิดที่เป็นของตัวเอง                                                                                               
2. นักศึกษาได้มีความรู้ในเรื่องบล็อกอะไรบ้าง เช่น เครื่องมือการนำเสนอ การใส่ภาพ VDEO ฯลฯ
ได้รับความรู้ในการใส่ภาพในรูปแบบสไลด์และการแทรกลูกเล่นต่างๆเช่นการใช้ปฏิทิน การใส่เพลง  เป็นต้น  เพื่อเป็นการพัฒนาในการใช้บล็อกต่อไป
3. นักศึกษาคิดว่ามีความสะดวกมากน้อยเพียงใดในการใช้บล็อกเป็นเครื่องมือในการเรียนรู้
สะดวกมาก ในหลายกรณี เช่น ส่งงานไม่ทันเราก็สามารถส่งทางบล็อกได้ และมีเวลาในการค้นคว้างานที่ได้ประสิทธิภาพและมีเวลาคิดวิเคราะห์ที่มากขึ้น
4. นักศึกษามีความพึงพอใจ ในระดับใด เช่น มากที่สุด มาก ปานกลาง น้อย น้อยที่ แสดงความคิดเห็นและประเมินในเครื่องมือหน้าบล็อกของอาจารย์ เลือกตอบข้อเดียว (เลือกประเมินตามห้องและวิชาเอก)
มากที่สุด เนื่องจากได้เรียนรู้เทคโนโลยีที่ทันสมัย และเป็นการฝึกการใช้งานของบล็อกได้มากขึ้นและรู้จักวิธีการใช้งานของบล็อก ช่วยเสริมสร้างความรู้ความสามารถในก้าวทันยุคทันสมัยในปัจจุบันและให้ทันโลกของโลกาภิวัฒน์

สอบครั้งที่ 2

ให้นักศึกษาให้ความหมายของคำศัพท์ต่อไปนี้
1. Classroom Management
การจัดการในชั้นเรียน หมายถึง การจัดสภาพแวดล้อมทางกายภาพในห้องเรียน การจัดการกับพฤติกรรมที่เป็นปัญหาของนักเรียน การสร้างวินัย ในชั้นเรียนตลอดจนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนของครูและการพัฒนาทักษะการสอน ของครูให้สามารถกระตุ้นพร้อมทั้งสร้างแรงจูงใจในการเรียน เพื่อให้นักเรียนสามารถเรียนรู้ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
2.HappinessClassroom
            หมายถึง การจัดห้องเรียนให้มีความสุข
3. Life-long Education
การเรียนรู้ตลอด หมายถึง การรับรู้ความรู้ ทักษะ และเจตคติ ตั้งแต่เกิดจนตายจากบุคคลหรือสถาบันใดๆ โดยสามารถจะเรียนรู้ด้วยวิธีเรียนต่างๆ อย่างมีระบบหรือไม่มีระบบ โดยตั้งใจหรือโดยบังเอิญก็ได้ ทั้งนี้สามารถทำให้บุคคลนั้นเกิดการพัฒนา ตนเอง
4. formal Education
การศึกษาในระบบ  หมายถึง การศึกษาที่กำหนดจุดมุ่งหมาย วิธีการศึกษา หลักสูตร ระยะเวลาของการศึกษาการวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนไขของการสำเร็จการศึกษาที่แน่นอน
5. non-formal education
ศึกษานอกระบบ หมายถึง การจัดการกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเป็นระบบ แต่นอกกรอบของการจัดการศึกษาในระบบโรงเรียนปกติ โดยมุ่งบริการให้คนกลุ่มต่างๆ ของประชากร ทั้งที่เป็นผู้ใหญ่และเด็ก
6. E-learning
การเรียนในลักษณะใดก็ได้ ซึ่งใช้การถ่ายทอดเนื้อหาผ่านทางอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ ไม่ว่าจะเป็น คอมพิวเตอร์ เครือข่ายอินเทอร์เน็ต อินทราเน็ต เอ็กซทราเน็ต หรือ ทางสัญญาณโทรทัศน์ หรือ สัญญาณดาวเทียม ก็ได้ ซึ่งเนื้อหาสารสนเทศอาจอยู่ในรูปแบบการเรียนที่เราคุ้นเคยกันมาพอสมควร เช่น คอมพิวเตอร์ช่วยสอนการสอนบนเว็บ การเรียนออนไลน์ การเรียนทางไกลผ่านดาวเทียม หรือ อาจอยู่ในลักษณะที่ยังไม่ค่อยเป็นที่แพร่หลายนัก เช่น การเรียนจากวิดีทัศน์ ตามอัธยาศัย เป็นต้น
7. Graded
หมายถึง การเรียนแบบระดับชั้น เช่น ระดับประถมศึกษา ระดับมัธยมศึกษาตอนต้นมัธยมศึกษาตอนปลายปริญญาตรี ประกาศนียบัตรบัณฑิต ปริญญาโท และปริญญาเอก เป็นต้น
8. Policy education
     นโยบายการศึกษา คือ หลักการหรือกรอบความคิด แนวทางกลวิธีการดําเนินงานเพื่อให้บรรลุวัตถุประสงค์ของหน่วยงานนั้น   
9. Vision
วิสัยทัศน์ หมายถึง การสร้างภาพอนาคต หรือการมองอนาคตซึ่งจะเป็นเป้าหมายในการเดินไปสู่อนาคต โดยวิธีการนำเอาระบบการวางแผนมาใช้ หรือหมายถึงสิ่งที่อยากเห็นในอนาคตและเป็นสิ่งที่ดีกว่าเดิม
10. Mission
พันธกิจ หมายถึง หน้าที่โดยรวมของสถาบันการศึกษา เป็นการตอบคำถามที่ว่า สถาบันการศึกษาต้องการบรรลุอะไรเป็นพันธะสัญญาที่ต้องปฏิบัติ เพื่อให้บรรลุวิสัยทัศน์ที่กำหนดไว้ เป็นจุดมุ่งหมายหรือวัตถุประสงค์ของการจัดตั้งสถาบันการศึกษาและเป็นขอบข่าย การดำเนินงานของสถาบันการศึกษานั้น พันธกิจอาจกำหนดโดยผู้เรียน ผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย หรือตลาดเป้าหมายที่สถาบันการศึกษาให้บริการ ความสามารถที่โดดเด่นของสถาบันการศึกษา หรือเทคโนโลยีที่สถาบันการศึกษาใช้
11. Goals
เป้าหมาย หมายถึง การกำหนดสิ่งที่ต้องการในอนาคต ซึ่งองค์การจะต้องพยายามให้เกิดขึ้น หรือหมายถึง เป็นการกำหนดภารกิจของธุรกิจในรูปของผลลัพธ์สำคัญที่ต้องการ เป้าหมายมีความเฉพาะเจาะจงน้อยกว่าวัตถุประสงค์ วัตถุประสงค์จะกำหนดขึ้น หลังจากกำหนดเป้าหมายแล้ว เป้าหมายเลิงกลยุทธ์จะช่วยผู้บริหารให้คิดเกี่ยวกับสิ่งซึ่งธุรกิจต้องบรรลุผลเป้าหมายโดยทั่วไปเป็นปรัชญาของจุดมุ่งหมาย
12. Objective
วัตถุประสงค์ หมายถึง เป้าหมายซึ่งต้องการให้กิจกรรมบรรลุผลหรือหมายถึงเป้าหมายระยะสั้นที่มี ลักษณะเจาะจง ซึ่งเป็นผลลัพธ์ที่สามารถวัดได้
13. backward design
หมายถึง การพัฒนาการจัดการเรียนการสอนของครูขึ้นอยู่กับการเรียนรู้ของครูและการพัฒนาตน เองให้มีความสามารถและมีคุณลักษณะของครูมืออาชีพการเรียนรู้และการทำงานของ ครูต้องไม่แยกจากกัน ครูควรมีโอกาสเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง การเรียนรู้ของครูเกิดจากการแลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์กับเพื่อนครู ผู้เชี่ยวชาญ ศึกษานิเทศก์ แล้วนำความรู้เหล่านั้นไปประยุกต์ใช้ในการจัดการเรียนการสอนของตน การไตร่ตรอง ทบทวน พัฒนา ปรับปรุง เกี่ยวกับการจัดการเรียนการสอนของครู ทำให้เกิดความเข้าใจผลของการลงมือปฏิบัติ แล้วนำผลการปฏิบัตินั้นแลกเปลี่ยนเรียนรู้และเผยแพร่ต่อผู้อื่น
14. Effectiveness
ประสิทธิผล หมายถึง การปฏิบัติงานให้บรรลุวัตถุประสงค์หรือเป้าหมายที่ตั้งไว้
15. Efficiency
ประสิทธิภาพ หมายถึง การปฏิบัติงานหรือบริการที่ถูกต้อง รวดเร็ว ใช้เทคนิคที่สะดวกสบายกว่าเดิม คุ้มค่า และใช้ทรัพยากรน้อยที่สุดในขณะที่ต้องการผลงานมากที่สุด
16. Economy
เศรษฐศาสตร์ หมายถึงการศึกษาถึงวิธีการนำเอาทรัพยากรที่มีอยู่จำกัดมาใช้อย่างประหยัดหรืออย่างมีประสิทธิภาพ
17. Equity
 หมายถึง ความเสมอภาพ
18. Empowerment
หมายถึง การสร้างเสริมพลังการกระตุ้นเร้าให้กลุ่มเป้าหมายเกิดความตระหนักในศักยภาพที่ ตนมี และดึงศักยภาพนั้นออกมาใช้อย่างเต็มที่และเต็มใจ เพื่อปรับปรุงพัฒนาวิถีชีวิต วิถีการทำงาน ให้บรรลุผลสำเร็จ ซึ่งผลสำเร็จที่เกิดขึ้นนี้จะมีความต่อเนื่องและยั่งยืน
19. Engagement
การทำให้พนักงานในองค์กรรู้สึกผูกพันกับองค์กรความหมายของ Engagement นั้น จะต้องเป็นพนักงานที่ทุ่มเทแรงกายแรงใจ เพื่อสร้างผลงานที่ดีเยี่ยมให้กับองค์กรด้วย คือ ไม่ใช่อยู่ไปวันๆ แล้วบอกว่ารักองค์กร รู้สึกดีกับองค์กร ก็เลยไม่อยากไปไหน แต่ก็ไม่สร้างผลงานใดๆ ที่ดีขึ้นด้วย
20. Project
โครงการ หมายถึง ข้อเสนอที่จะดำเนินงานในเรื่องใดเรื่องหนึ่งให้สำเร็จ โดยมีการตระเตรียม และวางแผนงานไว้ล่วงหน้า เป็นการจัดการ เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ในเรื่องหนึ่ง ในระยะเวลาใดเวลาหนึ่ง
21. activies
หมายถึง การกระตือรือร้น เช่น การกระทำอย่างมีชีวิตชีวา

22. Leadership
ความเป็นผู้นำ หมายถึง กระบวนการที่บุคคลใดบุคคลหนึ่ง หรือมากกว่า พยายามใช้อิทธิพลของตนหรือกลุ่มตนกระตุ้น ชี้นำ ผลักดัน ให้บุคคลอื่น หรือกลุ่ม บุคคลอื่น มีความเต็มใจ และกระตือรือร้นในการทำสิ่งต่าง ๆ ตามต้องการ โดยมีความสำเร็จของกลุ่ม หรือองค์การเป็นเป้าหมาย
23. Leaders
  ผู้นำ หมายถึง  บุคคลที่มีความสามารถที่จะทำให้องค์การดำเนินไปอย่างก้าวหน้าและบรรลุเป้าหมาย  โดยการใช้อิทธิพลเหนือทัศนคติและการกระทำของผู้อื่น
24. Follows
ตาม เช่น เดินตาม, ติดตาม, เจริญรอยตาม, ตามอย่าง
25. Situations
หมายถึง เรื่องราว เหตุการณ์หรือสถานการณ์ที่เกิดขึ้น
26. Self awareness
การรู้จักตน หมายถึง การเข้าใจความรู้สึกของตนเอง และจุดมุ่งหมายของชีวิตทั้งระยะสั้นและระยะยาว ตลอดจนการรู้จักจุดเด่นจุดด้อยของตนเองอย่างไม่ลำเอียงเข้าข้างตนเอง
27. Communication
การสื่อสาร หมายถึง กระบวนการถ่ายทอดสารจากบุคคลหนึ่ง (ผู้ส่งสาร) ไปยังบุคคลหนึ่ง (ผู้รับสาร) โดยผ่านสื่อต่าง ๆ
28. Assertiveness
ความกล้าแสดงออก หรือก้าวล้ำ หมายถึง พฤติกรรมที่แสดงออกมาในเชิงสร้างสรรค์ เชิงบวก เพื่อความถูกต้อง เหมาะสม ให้เกียรติ ตามกาลเทศะ สุภาพเรียบร้อย มีปิยวาจา มีเมตตาธรรม โดยที่มีสิทธิปกป้องสิทธิของตน หากเขาไม่เห็นด้วย หรือคิดว่าในภายหลังจะต้องมารับผลที่ตามมา หากไปตกปากรับคำในสิ่งที่รู้แล้วว่าทำไม่ได้
29. Time management
การบริหารเวลา   หมายถึง การดำเนินงานให้บรรลุผลตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้โดยอาศัยปัจจัยทั้งหลาย ได้แก่ คน เงิน วัสดุ เป็นอุปกรณ์ในการปฏิบัติงานนั้น
30. PSDCORB
การบริหารงาน– Planning หมายถึง การวางแผน   O – Organizing หมายถึง การจัดองค์การ S – Staffing หมายถึง การจัดคนเข้าทำงาน  D – Directing หมายถึง การสั่งการ Co – Coordinating หมายถึง ความร่วมมือ R – Reporting หมายถึง การรายงาน  B – Budgeting หมายถึง งบประมาณ
31. Formal Leaders
ผู้นำแบบเป็นทางการ หมายถึง ผู้บังคับบัญชาในหน่วยงาน เพราะว่าผู้บังคับบัญชานั้นคือผู้ที่ได้รับการแต่งตั้งอย่างเป็นทางการให้ดำรงตำแหน่งหัวหน้า
32. Informal Leaders
ผู้นำแบบไม่เป็นทางการ หมายถึง ผู้นำที่ไม่ใช่ผู้บังคับบัญชา เพราะไม่มีตำแหน่งเป็นหัวหน้าในองค์การ แต่สมาชิกในหน่วยให้การยอมรับ และยกย่องให้เป็นผู้นำ เพราะเขามีคุณสมบัติบางประการที่หน่วยงานหรือสมาชิกในองค์การ ต้องการ ให้การยอมรับ หรือให้ความไว้วางใจ เช่น ประสบการณ์ ความรู้ความสามารถ มนุษย์สัมพันธ์ เป็นต้น
33. Environment
สิ่งแวดล้อม หมายถึง สิ่งที่มีผลต่อการดำรงชีวิตของสิ่งมีชีวิต
34. Globalization
โลกาภิวัตน์มีความเป็นสังคมที่มีวัฒนธรรมประเพณีเดียวนั้น  หมายถึง  สภาวะโลกไร้พรมแดนได้ทำให้เกิดการติดต่อสื่อสารกัน จนเกิดแบบแผน และพัฒนาไปสู่การมีวัฒนธรรมร่วมกันระหว่างคนจากส่วนต่างๆของโลก
33. Competency
ความสามารถเชิงสมรรถนะ หรือสมรรถนะ หมายถึง คุณลักษณะทั้งในด้านทักษะ ความรู้ และพฤติกรรม ของบุคคล ที่บุคคลแสดงออกในการปฏิบัติงาน ที่ทำให้การปฏิบัติงานนั้นประสบความสำเร็จ
34. Organization Cultural
วัฒนธรรมองค์กร หมายถึง ค่านิยมและความเชื่อที่มีร่วมกันอย่างเป็นระบบที่เกิดขึ้นในองค์การ
35. Individual Behavior
พฤติกรรมบุคคล หมายถึง การกระทำหรือการแสดงออกของบุคคล เพื่อแสดงถึงสิ่งที่เขาอยากมี หรือ อยากเป็น ขึ้นอยู่กับสรีระและสิ่งแวดล้อม
36. Group Behavior
พฤติกรรมกลุ่ม หมายถึง เกิดจากการที่บุคคลตั้งแต่สองคนรวมกันเพื่อร่วมกำหนดเป้าหมายและเพื่อการดำเนินงานให้บรรลุเป้าหมาย
37. Organization Behavior
หมายถึง แนวทางในการปฏิบัติของคนในองค์การซึ่งมาจากสิ่งที่คนนำเข้ามาในองค์การ ได้แก่ ความสามารถ ความคาดหวัง
38. Team working
การทำงานเป็นทีม หมายถึง กลุ่มบุคคลที่มีการประสานงานกัน ร่วมมือกัน สามัคคี มีเป้าหมายร่วมกัน และเชื่อใจกัน
39. Six Thinking Hats
หมวกหกใบหกสี หมายถึง แต่ละใบของหมวกคิดทั้งหกจะมีสีต่างกัน ขาว แดง ดำ เหลือง เขียว ฟ้า สีคือชื่อของหมวกแต่ละหมวก สีของแต่ละหมวกยังมีความสัมพันธ์กับการทำงานของมันด้วยสีขาว
สีขาวเป็นกลางไม่มีอคติ ไม่ลำเอียง หมวกขาวจะเกี่ยวข้องกับข้อเท็จจริงและตัวเลข
สีแดง สีแดงแสดงถึงความโกรธ ความเดือดดาล และอารมณ์ สีแดงให้มุมมองทางด้านอารมณ์
สีดำ สีดำคือข้อควรระวัง และคำเตือน ซึ่งจะชี้ให้เห็นถึงจุดอ่อนของความคิดนั้นๆ
สีเหลือง ให้ความรู้สึกในทางที่ดี หมวกสีเหลืองเป็นมุมมองในทางบวก รวมถึงความหวัง และคิดในแง่ดีด้วย
หมวกสีเขียว หมายถึงความคิดริเริ่ม และความคิดใหม่ๆ
สีฟ้า  หมายถึง  การควบคุม การจัดระบบ กระบวนการคิดและการใช้หมวกอื่นๆ
40. Classroom Action Research
หมายถึง รูปแบบของการวิจัยที่ครูกำลังให้ความสนใจเป็นอย่างยิ่ง เพราะสามารถนำไปใช้เพื่อการศึกษา และการวิจัยในสถานการณ์ที่เกิดขึ้นจริงของห้องเรียน จึงอาจกล่าวได้ว่า การวิจัยในชั้นเรียนเป็นวิธีการวิจัยที่ออกแบบ และพัฒนาขึ้นมาเพื่อช่วยให้ครูสามารถค้นพบว่ามีอะไรเกิดขึ้นในห้องเรียนบ้าง และยังช่วยให้ครูทราบข้อมูลที่จะนำไปใช้เพื่อการพัฒนาการเรียนการสอนที่จะมี ขึ้นต่อไปในอนาคต โดยเลือกใช้วิธีการวิจัยเชิงคุณภาพ การวิจัยเชิงปริมาณ การวิจัยเชิงบรรยาย หรือการวิจัยเชิงทดลอง อย่างใดอย่างหนึ่งเป็นวิธีการศึกษา

วันอาทิตย์ที่ 13 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

สอบ

๑. (Classroom Management) หมายถึง การจัดการชั้นเรียนโดยยึดหลักการดังนี้
-                  การสร้างวินัยที่มีประสิทธิผล
-                  การเตรียมการชั้นเรียน
-                  การจูงใจนักเรียน
-                  การจัดสภาพแวดล้อมให้ปลอดภัย
-                  การจัดสภาพการเรียนทางบวก
-                  การสร้างการยอมรับนับถือตนเอง
-                  การสร้างความคิดสร้างสรรค์และจินตนาการ
(Classroom Management) มีความสัมพันธ์กับหลักสูตร
Classroom Management  ช่วยให้นักเรียนพัฒนาในการควบคุมตนเองเพื่อให้มีชีวิตและทำงานร่วมกับผู้อื่นในสังคมอย่างมีความสุข และสร้างความพึงพอใจและความสนุกสนานนำมาสู่ความร่วมมือในการเรียนรู้ อีกทั้งยังเป็นความสัมพันธ์สูงสุดของการเริ่มต้นในการสอนของครู
๒. มาตรฐานวิชาชีพครู    เป็นข้อกำหนดเกี่ยวกับ คุณลักษณะและคุณภาพที่พึงประสงค์ที่ต้องการให้เกิดขึ้นในการประกอบวิชาชีพครู โดยผู้ประกอบวิชาชีพจะต้องนำมาตรฐานวิชาชีพเป็นหลักเกณฑ์ในประกอบวิชาชีพ
คุรุสภาซึ่งเป็นองค์กรวิชาชีพครู ตาม พ.ร.บ. สภาครูและบุคลากรทางการศึกษา พ.ศ. 2546 ได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพครู ไว้ 3 ด้าน  ตามข้อบังคับคุรุสภาว่าด้วยมาตรฐานวิชาชีพและจรรยาบรรณของวิชาชีพ พ.ศ. 2548 กล่าวคือ
1. มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ
2. มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน
3. มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน 
มาตรฐานด้านความรู้และประสบการณ์วิชาชีพ กำหนดไว้ว่า ความรู้  ครูต้องมีความรู้ในเรื่อง ดังนี้    

1.  ภาษาและเทคโนโลยีสำหรับครู    
2.  การพัฒนาหลักสูตร    
3.  การจัดการเรียนรู้    
4.  จิตวิทยาสำหรับครู    
5.  การวัดและประเมินผลการศึกษา    
6.  การบริหารจัดการในห้องเรียน      
7.  การวิจัยทางการศึกษา    
8.  นวัตกรรมและเทคโนโลยีสารสนเทศทางการศึกษา    
9. ความเป็นครู
ประสบการณ์  ผู้จะเป็นครูต้องมีประสบการณ์ ดังนี้
1) วุฒิปริญญาตรีทางการศึกษาที่สภาวิชาชีพ(คุรุสภา) รับรอง หรือ
2) วุฒิปริญญาตรีทางวิชาการหรือวิชาชีพอื่น และได้ศึกษาวิชาการศึกษาหรือฝึกอบรม วิชาชีพทาง การศึกษา มาไม่น้อยกว่า 24 หน่วยกิต
 3) ผ่านการปฏิบัติการสอนในสถานศึกษาที่สภาวิชาชีพรับรอง และผ่านการประเมินกาปฏิบัติการสอนตามเกณฑ์ที่สภาวิชาชีพกำหนด 

มาตรฐานด้านการปฏิบัติงาน ได้แก่เกณฑ์มาตรฐานวิชาชีพครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ประกอบด้วย 12 เกณฑ์มาตรฐาน ดังนี้
มาตรฐานที่ 1 ปฏิบัติกิจกรรมทางวิชาการเกี่ยวกับการพัฒนาวิชาชีพครูอยู่เสมอ
มาตรฐานที่ 2 ตัดสินใจปฏิบัติกิจกรรมต่าง ๆ โดยคำนึงถึงผลที่จะเกิดขึ้นกับผู้เรียน
มาตรฐานที่ 3 มุ่งมั่นพัฒนาผู้เรียนให้เต็มตามศักยภาพ
มาตรฐานที่ 4 พัฒนาแผนการสอนให้สามารถปฏิบัติให้เกิดผลจริง
มาตรฐานที่ 5 พัฒนาสื่อการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพอยู่เสมอ

                        มาตรฐานที่ 6 จัดกิจกรรมการเรียนการสอน โดยเน้นผลถาวรที่เกิดแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 7 รายงานผลการพัฒนาคุณภาพของผู้เรียนได้อย่างมีระบบ             
มาตรฐานที่ 8 ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ผู้เรียน
มาตรฐานที่ 9 ร่วมมือกับผู้อื่นในสถานศึกษาอย่างสร้างสรรค์        มาตรฐานที่ 10 ร่วมมือกับผู้อื่นอย่างสร้างสรรค์ในชุมชน
มาตรฐานที่ 11 แสวงหาและใช้ข้อมูลข่าวสารในการพัฒนา
มาตรฐานที่ 12 สร้างโอกาสให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ได้ทุกสถานการณ์

มาตรฐานด้านการปฏิบัติตน ได้แก่ จรรยาบรรณครู ที่สภาวิชาชีพ (คุรุสภา) กำหนด ซึ่งปัจจุบันกำหนดไว้ ดังนี้
1) ครูต้องรักและเมตตาศิษย์ โดยให้ความเอาใจใส่ช่วยเหลือส่งเสริมกำลังใจในการศึกษาเล่าเรียนแก่ศิษย์โดยเสมอหน้า
2) ครูต้องอบรมสั่งสอน ฝึกฝน สร้างเสริมความรู้ ทักษะ และนิสัยที่ครูต้องดีงามให้เกิดแก่ศิษย์อย่างเต็มความสามารถ ด้วยความบริสุทธิ์ใจ
3) ครูต้องประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นแบบอย่างที่ดีแก่ศิษย์ ทั้งกาย วาจา และจิตใจ
4) ครูต้องไม่กระทำตนเป็นปฏิปักษ์ต่อความความเจริญทางกาย สติปัญญา จิตใจ อารมณ์ และสังคมของศิษย์
5) ครูต้องไม่แสวงหาประโยชน์อันเป็นอามิสสินจ้างจากศิษย์ในการปฏิบัติหน้าที่ตามปกติและไม่ใช้ศิษย์กระทำการใด ๆ อันเป็นการหาประโยชน์ให้แก่ตนโดยมิชอบ

6) ครูย่อมพัฒนาตนเองทั้งในด้านวิชาชีพ ด้านบุคลิกภาพและวิสัยทัศน์ให้ทันต่อการพัฒนาทางวิทยาการ เศรษฐกิจ สังคม และการเมืองอยู่เสมอ
7) ครูย่อมรักและศรัทธาในวิชาชีพครู และเป็นสมาชิกที่ดีขององค์กรวิชาชีพครู              
8) ครูพึงช่วยเหลือเกื้อกูลครู และชุมชนในทางสร้างสรรค์
9) ครูพึงประพฤติ ปฏิบัติตนเป็นผู้นำในการอนุรักษ์ และพัฒนาภูมิปัญญาและวัฒนธรรมไทย 

มาตรฐานวิชาชีพครู จะเป็นหลักเกณฑ์สำคัญในการกำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมีสิทธิ ได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพครู หรือการต่อใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ โดยผู้ที่จะได้รับใบอนุญาตประกอบวิชาชีพ จะต้องเป็นผู้มีคุณสมบัติตามมาตรฐานวิชาชีพครู ดังกล่าวข้างต้น
๓. หลักการแนวคิดในการจัดการชั้นเรียน
             การจัดการชั้นเรียนเป็นการปฏิบัติเกี่ยวกับการกำกับ ดูแลสร้างกฎระเบียบ ข้อตกลงในชั้นเรียน การจัดการพฤติกรรมของนักเรียน การแก้ไขปัญหาร่วมกันในชั้น เรียน การจัดบรรยากาศและสภาพแวดล้อมที่ดี ห้องเรียนมีลักษณะยืดหยุ่น เป็นแหล่งวิชาการ มีปฏิสัมพันธ์ที่ดี ส่งเสริมชีวิตแบบประชาธิปไตย ส่งเสริมลักษณะนิสัยที่ดีและมีการจัดทำข้อมูลสารสนเทศเกี่ยวกับเอกสารประจำชั้น
๔. การจัดภูมิทัศน์และสภาพแวดล้อมในบริเวณโรงเรียน
            การจัดสภาพแวดล้อมในโรงเรียน ต้องเอื้อต่อการเรียนรู้ของผู้เรียน มีแหล่งเรียนรู้ที่หลากหลาย เช่น ห้องสมุด ห้องปฏิบัติการต่าง ๆ สวนหย่อม ไม้ดอก ไม้ประดับสนามเด็กเล่น ฯลฯ ต้องพร้อมที่จะให้นักเรียนมีโอกาสศึกษาหาความรู้ นอกจากนั้นปฏิสัมพันธ์ของบุคลากรในโรงเรียนกับนักเรียนกับผู้ปกครองนักเรียน และกับบุคลากรในโรงเรียนด้วยกันต้องเป็นไปในทางที่ดี เป็นที่ประทับใจของผู้พบเห็น
สภาพอาคารเรียนและความปลอดภัย อาคารเรียนสะอาด น่าอยู่ มีสื่อการเรียนรู้ที่หลากหลาย  มีการตรวจสภาพสื่อการเรียน และอุปกรณ์การเรียนทุกเดือน 
            

๕. คุณภาพของผู้เรียน
คุณภาพของผู้เรียน เป็นผลลัพธ์ที่เกิดจากการจัดบรรยากาศและสภาพ แวดล้อม ที่ดี การบริหารจัดการที่ดี และการจัดการเรียนรู้ที่ดี มีประสิทธิภาพของโรงเรียน ซึ่งมีตัวบ่งชี้ที่สำคัญ ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน    ความสามารถในการอ่าน คิดวิเคราะห์ เขียนสื่อความ คุณลักษณะที่พึงประสงค์ สุนทรียภาพด้านดนตรี ศิลปะและกีฬา  พัฒนาการด้านสมรรถภาพทางกาย  ตลอดจนการแสดงออกทางหน้าตาท่าทางถึงความสุขในการเรียนของผู้เรียน
ตัวอย่างผู้เรียนที่มีคุณภาพ
๑.     มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนผ่านเกณฑ์ มาตรฐานที่ตั้งไว้
๒.   การทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
๓.   การทดสอบทางการศึกษา ระดับเขตพื้นที่การศึกษา) ผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
๔.   ผ่านการทดสอบทางการศึกษา ระดับท้องถิ่น) ผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้
๕.   คุณลักษณะอันพึงประสงค์จากหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน  ผ่านตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ
๑. รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์
๒. ซื่อสัตย์สุจริต
๓. มีวินัย
๔. ใฝ่เรียนรู้
๕. อยู่อย่างพอเพียง
๖. มุ่งมั่นในการทำงาน
๗. รักความเป็นไทย
๘. มีจิตสาธารณะ
๖. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้ที่เน้นจริยธรรมและคุณธรรม
            การจัดการเรียนรู้แบบConstructionism เป็นแนวที่เน้นให้ผู้เรียน สร้างองค์ความรู้ผ่านการเรียนรู้แบบลงมือปฏิบัติโดยการทำโครงงาน บูรณาการด้วยเทคโนโลยี วิชาการ ศิลปะ วัฒนธรรม ความเป็นไทย ตลอดจนคุณธรรม จริยธรรม เพื่อการเรียนรู้ตลอดชีวิต เป็นแบบอย่างในการพัฒนาผู้เรียนให้สามารถแข่งขันได้ในยุคโลกาภิวัฒน์ นอกจากวิธีการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบการเรียนรู้ ผ่านโครงงานที่มุ่งเน้นให้ผู้เรียนพัฒนากระบวนการเรียนรู้ จากการปฏิบัติจริงในเรื่องที่ตนเองสนใจ และบูรณาการวิชาการต่าง ๆ แล้วยังมุ่งพัฒนาทักษะทั้ง 5 ด้าน ให้กับผู้เรียน ดังนี้
IQ (Intelligence Quotient) พัฒนาให้ผู้เรียนมีทักษะในกระบวนการคิด การเรียนรู้ มีความเฉลียวฉลาดเพิ่มขึ้น และสนใจใฝ่หาความรู้อย่างต่อเนื่อง
EQ (Emotional Quotient) พัฒนาให้ผู้เรียนรู้จักตนเอง มีสติดีอยู่เสมอ และมีความมั่นคงทางอารมณ์
AQ (Adversity Quotient) พัฒนาทักษะในการแก้ปัญหาและการเผชิญสถานการณ์ที่หลากหลายเพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลง และทำงานภายใต้สภาวะความกดดันได้ดี
TQ (Technology Quotient) พัฒนาผู้เรียนให้มีความคล่องแคล่วในการใช้เทคโนโลยี และเลือกใช้เทคโนโลยีอย่างเหมาะสมกับความต้องการ
MQ (Morality Quotient) การปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรม และความเป็นไทย เข้าไปในทุกขั้นตอนของการเรียนรู้จนติดเป็นนิสัยแนว Constructionism เป็นการพัฒนาเด็กให้เป็นผู้มีความสามารถในการเรียนรู้ได้ดี มีคุณธรรม สามารถดำเนินชีวิตได้อย่างเป็นสุขในโลกยุคใหม่ ที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว รุนแรงและกว้างขวาง โรงเรียน จะต้องเป็น องค์กรแห่งการเรียนรู้ที่มีความคล่องตัวสูง ปรับเปลี่ยนการบริหารจัดการองค์กรได้อย่างรวดเร็ว จึงมุ่งพัฒนาให้ผู้เรียนมีวินัย 5 ประการ ดังนี้


รู้จักตนเอง สามารถวิเคราะห์จุดเด่น จุดด้อย และมุ่งมั่นที่จะพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง ดังคำกล่าวที่ว่า อ่านตนออก บอกตนได้ ใช้ตนเป็น เห็นตนชัด พัฒนาตนเอง อย่างสม่ำเสมอ
มีความที่เปิดกว้าง ยอมรับและเคารพความแตกต่างระหว่างบุคคล รับฟังความคิดที่แตกต่างของผู้อื่นได้ด้วยใจเป็นสุข
การผสานวิสัยทัศน์ เปิดโอกาสให้ทุกคนมีส่วนร่วมในการสร้างวิสัยทัศน์และเป้าหมายขององค์กร เพื่อให้ทุกคนมุ่งมั่นตั้งใจทำงานให้ประสบความสำเร็จในทิศทางเดียวกัน
การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม สร้างทีมงานที่ทำร่วมกันอย่างมีประสิทธิภาพด้วยบรรยากาศการทำงานอย่างเป็นกัลยาณมิตร
คิดเป็นระบบครบวงจร มองสิ่งต่าง ๆ เป็นองค์รวม เห็นถึงความสัมพันธ์เชื่อมโยงของสิ่งต่าง ๆ ทำให้เข้าใจเหตุและปัจจัยขององค์กร เมื่อเกิดเหตุการณ์ใด ๆ ก็จะสามารถร่วมมือร่วมใจกันรับมือและคาดการณ์สิ่งที่จะเกิดขึ้นใหม่ได้อย่างมีประสิทธิภาพ

กิจกรรม14

Mind Mapping  เป็นแผนที่ความคิดที่อัจฉริยะ เปรียบเสมือนลายแทงที่นำไปสู่       การจดจำ การเรียบเรียง การจัดระเบียบข้อมูลตามธรรมชาติ การทำงานของสมองตั้งแต่ต้น นั่นหมายความว่า การจำและฟื้นความจำ หรือการเรียกข้อมูลเหล่านั้นกลับมาใช้ในภายหลัง จะทำได้ง่าย และมีความถูกต้องแม่นยำกว่าการใช้เทคนิคการจดบันทึกแบบเดิม
วิธีการทำ Mind Mapping 
.เตรียมกระดาษเปล่าที่ไม่มีเส้นบรรทัดและวางกระดาษภาพแนวนอน
๒. วาดภาพสีหรือเขียนคำหรือข้อความที่สื่อหรือแสดงถึงเรื่องจะทำ Mind Map กลางหน้ากระดาษ โดยใช้สีอย่างน้อย 3 สี และต้องไม่ตีกรอบด้วยรูปทรงเรขาคณิต
๓. คิดถึงหัวเรื่องสำคัญที่เป็นส่วนประกอบของเรื่องที่ทำ Mind Map โดยให้เขียนเป็นคำ  ที่มีลักษณะเป็นหน่วย หรือเป็นคำสำคัญ (Key Word) สั้น ๆ ที่มีความหมาย บนเส้น ซึ่งเส้นแต่ละเส้นจะต้องแตกออกมาจากศูนย์กลางไม่ควรเกิน 8 กิ่ง
๔.แตกความคิดของหัวเรื่องสำคัญแต่ละเรื่องในข้อ 3 ออกเป็นกิ่ง ๆ หลายกิ่ง โดยเขียนคำหรือวลีบนเส้นที่แตกออกไป ลักษณะของกิ่งควรเอนไม่เกิน 60 องศา
๕. แตกความคิดรองลงไปที่เป็นส่วนประกอบของแต่ละกิ่ง ในข้อ 4 โดยเขียนคำหรือวลีเส้นที่แตกออกไป ซึ่งสามารถแตกความคิดออกไปเรื่อยๆ
            ๖.การเขียนคำ ควรเขียนด้วยคำที่เป็นคำสำคัญ (Key Word) หรือคำหลัก หรือเป็นวลีที่มีความหมายชัดเจน           
๗.คำ วลี สัญลักษณ์ หรือรูปภาพใดที่ต้องการเน้น อาจใช้วิธีการทำให้เด่น เช่น การล้อมกรอบ หรือใส่กล่อง เป็นต้น
๘.ตกแต่ง Mind Map ที่เขียนด้วยความสนุกสนานทั้งภาพและแนวคิดที่เชื่อมโยงต่อกัน
 ข้อดีของ Mind Mapping 
๑.ทำให้เห็นภาพรวมกว้าง ๆ ของหัวข้อใหญ่ หรือขอบเขตของเรื่อง
๒.ทำให้สามารถวางแผนเส้นทางหรือตัดสินใจได้อย่างถูกต้องเพราะรู้ว่าตรงไหนกำลังจะไปไหนหรือผ่านอะไรบ้าง
๓.สามารถรวบรวมข้อมูลจำนวนมากลงไว้ในกระดาษแผ่นเดียวกัน
๔.กระตุ้นให้คิดแก้ไขปัญหาโดยเปิดโอกาสให้มองเห็นวิธีใหม่ ๆ ที่สร้างสรรค์
๕.สร้างความเพลิดเพลินในการอ่านและง่ายต่อการจดจำ


 วิธีการสอนโดยใช้ หมวก 6 ใบ ทำให้เด็กได้รับความรู้และทดลองฝึกปฎิบัติวิธีการคิดที่หลากหลาย ทำให้ทราบว่า เรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือสถานการณ์ใดสถานการณ์หนึ่ง เราสามารถมีวิธีการคิด หรือมุมมองในเรื่องเดียวกันนั้น ได้หลายแบบ แล้วแต่ว่า คุณคิดโดยใช้หมวกสีใด ซึ่งหมวก 6 ใบ ใช้เป็นเครื่องมือที่ช่วยการคิดอย่างมีประสิทธิภาพได้ค่ะ.
ส่วนวิธีการสอนแบบโครงงาน เป็นการเปิดโอกาสให้ผู้เรียน  เรียนรู้เรื่องใดเรื่องหนึ่งตามความสนใจของผู้เรียนอย่างลุ่มลึก  โดยผ่านกระบวนและการหลัก คือ กระบวนการแก้ปัญหา การทำงานอย่างมีระบบ  มีขั้นตอน การเป็นผู้นำและผู้ตามที่ดีฝึกวิเคราะห์  และประเมินตนเอง ทั้งหมดนี้ผู้เรียนจะเป็นผู้ลงมือปฏิบัติเพื่อค้นหาคำตอบด้วยตนเอง  จึงเป็นการเรียนรู้จากการได้มีประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้
 สรุปได้ว่า วิธีการสอนแบบหมวก 6 ใบ นั้นสอนวิธีคิดจากหลาย ๆ ความคิด และวิธีสอนแบบโครงงาน  สอนให้เด็กคิดแบบเห็นประสบการณ์ตรงจากแหล่งเรียนรู้