วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
     
จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
.การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี ความรู้คู่คุณธรรม ผู้เรียนมีคุณธรรม   จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์    สังเคราะห์   และมีวิสัยทัศน์ ที่ดีกว้างไกล   ดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม  และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.เน้นให้ผู้เรียนได้เห็นประโยชน์ของสังคม   เรียนรู้ร่วมกัน มีการทำงานร่วมกัน  ฝึกฝนให้รู้จักการใเทคนิคและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง  มีอิสระและรับผิดชอบ                                                              
 3.ครูต้องมีการวางแผนการจัดกิจกรรม เตรียมสื่อการสอนกำกับดูและกระบวนการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้ ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องมีการ เตรียมการสอนเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้ครูได้พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดหมายของหลักสูตร
 
  4. การที่เราจะจัดการเรียนการสอนจากการสังเกต  วัดผล  ทดสอบต่างๆ  เรานำมาวิจัยดูพฤติกรรมของผู้เรียนและนำไปพัฒนานวัตกรรมสื่อใหม่ๆเพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นและนำประสบการณ์มาปรับปรุงและแก้ไขแล้วนำไปใช้ในอนาคต 
                                         แผนการจัดการเรียนรู้
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
                               สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
                หน่วยการเรียนรู้ที่ 1.5 เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา       
            แผนการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา    เวลา 2 ชั่วโมง
สอนวันที่ 3,5   เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2553       ภาคเรียนที่ 2      ปีการศึกษา 2553
1. สาระสำคัญ
          วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ทางพระพุทธศาสนาขึ้นในสมัยพุทธกาล พุทธศาสนิกชนจะยึดถือเอาวันเหล่านั้นเป็นวันที่ควรระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยเป็นพิเศษ พุทธศาสนิกชนนิยมประกอบศาสนาพิธีเพื่อเป็นการบูชาและประพฤติให้ถูกต้องในวันสำคัญ และพิธีกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม
2. มาตรฐานการเรียนรู้
1.3 ประพฤติปฏิบัติตนตามหลักธรรม และศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
3. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
ส 1.3.1 รู้และปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม หลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง กลุ่มสังคมที่ตนเป็นสมาชิก และสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ตัว ชุมชนและประเทศชาติ เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
ส 1.3.2 ใช้ภาษาในคัมภีร์ที่ใช้ในศาสนาที่ตนนับถือ และร่วมศาสนพิธี พิธีกรรม วันสำคัญทางศาสนาด้วยความเต็มใจ
4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มีความรู้ ความเข้าใจ บอกความหมาย เห็นความสำคัญ รู้เข้าใจเหตุการณ์สำคัญ ๆและปฏิบัติกิจกรรมที่พึงกระทำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้ด้วยความศรัทธาและถูกต้องเหมาะสม
5. จุดประสงค์การเรียนรู้
         1. บอกความหมายความสำคัญ ที่เกิดขึ้นในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
         2. ปฏิบัติกิจกรรมที่พึงกระทำในวันสำคัญทางพระพุทธ ศาสนา ได้ด้วยความศรัทธา
6. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1. ด้านวัฒนธรรมและศาสนา ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา ทะนุบำรุงศาสนา และปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี
2. ด้านสังคม ควรมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีน้ำใจต่อกัน และมีความสามัคคี ทั้งใน
ครอบครัว โรงเรียนและชุมชน
7. สาระการเรียนรู้
            วันสำคัญทางศาสนา
                    - วันอัฏฐมีบูชา
                    - วันอาสาฬหบูชา
8. กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1 ใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยยึดเด็กเป็นสำคัญ
            1. นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยและ ทำสมาธิ ( 3-5 นาที)
            2. ครูทักทายสนทนาประสบการณ์ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในวันสำคัญทางศาสนาว่าเคยปฏิบัติตนอย่างไร และมีความรู้สึกอย่างไร
            3. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระการเรียนรู้
            4. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง วันสำคัญทางทางศาสนา จำนวน 10 ข้อ
            5. แบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม คละความสามารถ ประกอบด้วย คนเก่ง 1 คน ปานกลาง 2 -3 คน  
            6. ครูชี้แนะในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแต่ละวันมีความสำคัญอย่างไร วันสำคัญมีอะไรที่เป็นปรากฏการณ์ที่นักเรียนสังเกตเห็นได้
            7. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้รับ จากการเรียนรู้ได้ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา มีความเอื้อเฟื้อมีน้ำใจทั้งในครอบครัว และสังคม
            8.นักเรียนดูภาพประกอบ กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา แล้วร่วมสนทนาซักถามอภิปรายความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น โดยครูเป็นผู้ชี้แนะเพิ่มเติมภาพที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญทางศาสนา
             
9. อุปกรณ์ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
            1. โปรแกรม power point เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา
            2. ใบงานที่ 1 เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา
            3. ใบงานที่ 2 เรื่อง เหตุการณ์วันสำคัญทางศาสนา
            4. หนังสือ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
            5. ภาพการแสดงธรรมในวันสำคัญทางศาสนา
10. การวัดผลและประเมินผล
            10.1 วิธีการวัด/สิ่งที่วัด
                        1. การตรวจใบงาน
                        2. การสังเกตการณ์ทำงานอย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ
                        3. การสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
                        4. การสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
               5. การตรวจผลงานจากแบบทดสอบ
              6.การตรวจผลงานแผนผังความคิด
           10.2 เครื่องมือวัด
                        1. แบบประเมินผลการทำข้อทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน
                        2. แบบประเมินพฤติกรรมการอภิปรายและบันทึกผล
                        3. แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคลและรายกลุ่ม
                        4. แบบบันทึกประเมินการฝึกปฏิบัติใบงานที่ 1 และใบงานที่ 2
            10.3 การประเมินผล
                        1. ผลการปฏิบัติใบงานที่ 1
                        2. ผลการปฏิบัติใบงานที่ 2
                        3.ผลการปฎิบัติจากการทำแผนผังความคิด
4. ผลทดสอบหลังเรียน
เกณฑ์การวัด
            ผ่านเกณฑ์       นักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป
            ไม่ผ่านเกณฑ์   นักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินน้อยกว่าร้อยละ 50

กิจกรรมที่ 10

ให้นักศึกษาได้ศึกษาเหตุการณ์ในประเด็นต่อไปนี้
     เหตุการณ์ที่ผ่านมาเกิดขึ้นกับประชาชนและประเทศไทยให้นักศึกษาอ่านและศึกษาข้อมูลจากหนังสือพิมพ์ Internet  Blog ต่าง ๆ และแสดงความคิดเห็นสรุปวิเคราะห์สังเคราะห์ ลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 10
1)  กรณีเขาพระวิหารจังหวัดศรีสะเกษ 
2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
        
  1) คดีปราสาทเขาพระวิหาร เป็นความขัดแย้งระหว่างราชอาณาจักรกัมพูชากับราชอาณาจักรไทยซึ่งเริ่มเกิดขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2501 ในการอ้างสิทธิเหนือบริเวณปราสาทเขาพระวิหาร ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายแดนไทยด้านอำเภอกันทรลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ และชายแดนกัมพูชาด้านจังหวัดพระวิหาร ปัญหาดังกล่าวเกิดจากการที่ทั้งไทยและกัมพูชา ถือแผนที่ปักปันเขตแดนตามแนวสันปันน้ำของเทือกเขาพนมดงรักคนละฉบับ ทำให้เกิดปัญหาพื้นที่ทับซ้อนของทั้งสองฝ่ายในบริเวณที่เป็นที่ตั้งของตัวปราสาท โดยทั้งฝ่ายกัมพูชาและฝ่ายไทยได้ยินยอมให้มีการพิจารณาปัญหาดังกล่าวขึ้นที่ ศาลโลกได้ตัดสินให้ตัวปราสาทเขาพระวิหารตกเป็นของกัมพูชา เม จนกระทั่ง 2-3ปีที่ผ่านมาความขัดแย้งเริ่มทวีความรุนแรง ขึ้นเมื่อกัมพูชาพยายามผลักดันเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก ซึ่งรวมถึงพื้นที่บริเวณข้างๆเขาพระวิหารที่ด้วยมีปัญหาคือพื้นที่นี้เป็นพื้นที่ พิพาทกันอยู่ ต่อมาในช่วงที่ผ่านมาเกิดเหตุคนไทยถูกจับกุมในพื้นที่ พิพาทนี้ทำให้มีปัญหาที่ยังแก้ไม่ได้อยู่ในปัจจุบัน

      2)  กรณีพื้นที่ชายแดน จังหวัดศรีสะเกษ จังหวัดสุรินทร์  จังหวัดอุบลราชธานี จังหวัดสระแก้ว ตราด เกาะกรูด ทะเลในอ่าวไทย
เป็นพื้นที่ที่ยังพิพาทกันอยู่เป็นเขตแดนที่ทั้งสองฝ่ายอ้างว่าเป็นของตนเองซึงเป็นเหตุให้มีปัญหาทั้งเรื่องของการจดทะเบียนเขาพระวิหารเป็นมรดกโลก และกรณีคนไทยถูกจับกุมตัวเพราะพื้นที่ดังกล่าวมีผลประโยชน์แฝงอยู่อาทิ เช่น   ทะเลในอ่าวไทยมีก๊าซธรรมชาติอยู่ถ้าฝ่ายใดได้ก็จะมีอภิสิทธิ์เต็มที่   เกาะกรูดเป็นสถานที่ท่องเที่ยวซึ่งมีความสำคัญทางด้านเศรษฐกิจ เป็นต้น

3)  กรณี MOU43 ของรัฐบาลนายชวนหลีกภัยมีผลต่อการจัดการพื้นที่ชายแดนอย่างไร หากมีการนำมาใช้จะก่อให้เกิดปัญหากับพี่น้องประชาชนในจังหวัดที่มีพื้นที่ติดกับชายแดนไทยกับกัมพูชาอย่างไร
ผลของMOU 43 ทำให้กรณีพิพาทนี้ยุ่งเข้าไปอีกทำให้หาข้อยุติไม่ได้ ซึ่งในปัจจุบันหากนำมาในจะทำให้พื้นที่พิพาทหรือพื้นที่ทับซ้อนตกเป็นของกัมพูชาซึ่งทำให้ไทยเสียเปรียบกัมพูชาเพราะ  MOU 43มีการจัดทำแผนที่ มาตราส่วน 1:200,000
   4)  กรณี คนไทย 7 คน ประกอบด้วย สส.พรรคประชาธิปัตย์  (นายพนิต)  ประชาชนหัวใจรักชาติ (นายวีระ สมความคิด นายแซมดิน  นายตายแน่  มุ่งมาจนและผู้ติดตามผู้หญิงอีก 2 ท่าน) 
ร่วมกับสส.ไปตรวจพื้นที่ที่ประชาชนได้รับความเดือดร้อน ในการแบ่งเขตพื้นที่ชายแดน และถูกทหารกับพูชากับจับหรือลักพาตัวไปขึ้นศาลประเทศกัมพูชาในฐานะที่นักศึกษาเรียนวิชาสังคม จะนำความรู้มาอธิบายให้นักเรียนของท่านได้รับรู้ข้อมูลอย่างไร  โปรดสรุปและแสดงความคิดเห็น
 ในกรณีนี้ไม่แน่นอนอยู่ว่าไทยลุกล้ำดินแดนของกัมพูชาอย่างไรเพราะเป็นพื้นที่ติดกันและมีข้อพิพาทกันอยู่ ดังนั้นรัฐบาลจะต้องช่วยเหลือคนเหล่านี้โดยเร็วที่สุดโดยใช้ความเด็ดขาดไม่ยินยอมและอ่อนแอ อย่างนี้ทำให้กัมพูชาได้ใจและหาเรื่องอยู่คลอดอยู่ที่การตัดสินใจของรัฐบาลซึ้งมีความสำคัญมาก และขอร้องให้นายกและรัฐบาลชุดนี้จัดการปัญหาให้เสร็จไปคนไทยจะได้ไม่เป็นเหยื่อของการพิพาทของดินแดนอีกต่อไป  

กิจกรรมที่ 9

        ให้นักศึกษา ดูทีวีในแหล่งความรู้โทรทัศน์สำหรับเลือกดูคนละหนึ่งเรื่อง การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียน  ให้สรุปเป็นประเด็นสำคัญ ที่นักศึกษาเห็นว่าสำหรับการจัดการเรียนการสอน และหากนักศึกษาไปฝึกสอนในสถานศึกษาที่ได้ดูจากทีวี  นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า  อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร  เขียนอธิบายขยายความลงในบล็อกของนักศึกษาในกิจกรรมที่ 9 (โทรทัศน์สำหรับครูอยู่ในแหล่งเรียนรู้สำหรับนักศึกษาครู เลือกพยายามอย่าให้ซ้ำกัน หรือซ้ำกันแต่ให้มุมมองที่แตกต่างกัน)

สนทนาเรื่องประวัติศาสตร์แบบครูมืออาชีพ กับ ดร. อ่องจิต เมธยะประภาส
               ประเด็นสำคัญในบทความเรื่องนี้ก็คือ การเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ ตัวนักเรียนเป็นหลักการเรียนนั้นไม่ใช่ว่าจะแค่เรียน ๆ  ไปแค่ให้รู้แต่จะต้องเรียนแล้วต้องรู้คุณค่าของสิ่งที่เรียนสามารถที่จะวิเคราะห์ต่อยอดความคิดให้เด็กเรียนรู้ด้วยตนเองแสดงความคิดเห็นได้อย่างอิสระ วิชาประวัติศาสตร์เป็นวิชาที่เรียนไปเพื่อให้รู้รากเหง้าของตนเองเกิดความหวงแหนรักชาติมีความผูกพัน และไม่คิดทำร้ายชาติสามารถที่จะนำประสบการณ์จากอดีตมาเป็นแบบอย่างในปัจจุบัน
                การพัฒนาครูมืออาชีพการจะนำนักเรียนไปสู่การเรียนรู้ครูจะมีการทำอย่างไร มีการอบรมครูที่เป็นโครงการพัฒนาครู 4 ภูมิภาคเช่น การแบ่งครูออกเป็นกลุ่มให้เลือกสถานที่ที่สนใจ จะไปสืบอะไร   ที่มาของประวัติ    การแบ่งกลุ่มกันยังไง  การนำเสนออย่างไร   ประโยชน์  มีเหตุการณ์อะไรเกิดขึ้นบ้าง ถ้าในปัจจุบันจะแก้ปัญหานั้นอย่างไรให้อดีตเป็นบทเรียนอนาคตจะได้ไม่เสียหาย 
               นักศึกษาจะเตรียมตัวออกสังเกตการสอนว่า  อาชีพครูจะต้องมีคุณสมบัติที่ดีอย่างไร และจะทำให้เกิดกับตัวนักศึกษาได้อย่างไร 
              ครูที่ดีจะต้องมีใจที่เปิดกว้างยอมรับความคิดเห็นของผู้อื่น ต้องเริ่มจากการรู้จักพัฒนาตัวเองก่อนพัฒนาตนเองในทุกด้านให้มีความพร้อมเข้าใจทันต่อเหตุการณ์ในปัจจุบันมีการพัฒนาตนอยูเสมอตลอดเวลา  การสอนที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญถือเป็นหัวใจหลักของการสอน เพื่อให้ผู้เรียนเกิดการคิดวิเคราะห์สามารถแก้ปัญหาที่เกิดขึ้นได้ เป็นการต่อยอดความคิดให้แก่เด็ก  ได้อย่างมีประสิทธิภาพอยู่กับผู้อื่นอย่างมีความสูข

กิจกรรมที่ 8

วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)
ให้นักศึกษา  สรุปความหมายวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวคิดเกี่ยวกับองค์การ
                      แนวทางพัฒนาองค์การ
                      กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
                      แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
โดยให้นักศึกษาศึกษาค้นคว้าโดยใช้ Internet และเอกสารห้องสมุดให้ตรงกับหัวเรื่องตามที่อาจารย์กำหนดให้มา สรุปเป็นความคิดของนักศึกษาและอ้างอิงแหล่งที่ค้นคว้าด้วย

เรื่อง  วัฒนธรรมองค์การ(Organaization Culture)
ความหมายของวัฒนธรรมองค์การ
           ศิริพงษ์ (2547) ได้กล่าวว่า วัฒนธรรมองค์การ หมายถึง ความเชื่อ ความรู้สึก พฤติกรรมและสัญลักษณ์ที่มีอยู่ในองค์การ หรือถ้าจำเพาะเจาะจง หมายถึง ปรัชญา อุดมการณ์ ความรู้สึก คติฐาน (assumption) ความคาดหวัง เจตคติ บรรทัดฐาน (norms) และค่านิยม (value) วัฒนธรรมองค์การมีความสัมพันธ์กับการบริหารทางการศึกษาในหลาย ๆ ด้าน เป็นต้นว่า โครงสร้างขององค์การ แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ และการเปลี่ยนแปลง องค์การได้รับพลังมาจากสิ่งแวดล้อมในรูปแบบของข้อมูลข่าวสาร บุคคล และวัสดุอุปกรณ์ พลังดังกล่าวจะเชื่อมโยงมาเป็นพฤติกรรมที่ส่งผลกระทบต่อเป้าหมายขององค์การ และทำให้สมาชิกในองค์การประสบผลตามที่ต้องการ ส่วนกระบวนการบริหาร เช่น แรงจูงใจ ภาวะผู้นำ การตัดสินใจ การสื่อสาร การเปลี่ยนแปลง และโครงสร้างขององค์การ ได้แก่ คำอธิบายงาน ระบบคัดเลือก ระบบประเมินผล ระบบควบคุม และระบบการให้รางวัล มีความสำคัญต่อวัฒนธรรมองค์การและอื่น ๆ สิ่งแวดล้อมภายนอกยังมีอิทธิพลต่อวัฒนธรรมองค์การด้วย ระบบสังคมจะให้ผลย้อนกลับเพื่อตรวจสอบวัฒนธรรมปัจจุบันว่าควรอยู่หรือเปลี่ยนแปลงวัฒนธรรมย่อย (subculture) ในองค์การขนาดใหญ่และซับซ้อนไม่อาจจะมีส่วนต่าง ๆ คล้ายกันได้ เป็นต้นว่า ความเชื่อ ค่านิยม แบบแผนพฤติกรรม วัฒนธรรมที่เป็นทางการและไม่เป็นทางการจะมีความแตกต่างกัน องค์การขนาดใหญ่อาจจะมีระบบวัฒนธรรมที่นำมาจากระบบใหญ่
แนวความคิดเกี่ยวกับองค์การ
    วัฒนธรรมมิใช่เป็นเพียงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในสังคมโดยทั่วไปเท่านั้น แต่ยังเป็นปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นในหน่วยงานต่างๆ ด้วย สังคมอาศัยวัฒนธรรมเพื่อช่วยในการจัดระเบียบและแก้ไขปัญหาพื้นฐานบางประการของกลุ่มคนที่อยู่ร่วมกันเพื่อความอยู่รอดของสมาชิก เช่น สังคมอาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการปกครองและกระบวนการยุติธรรมมาช่วยแก้ปัญหาการเมืองและความขัดแย้งในสังคม หรือในเรื่องปากท้องของประชาชนอันเป็นปัญหาเศรษฐกิจสังคมก็อาศัยวัฒนธรรมในส่วนที่เกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนสินค้าและบริการมาช่วยขจัดปัดเป่าปัญหาให้ทุเลาลง เพื่อความมั่นคงทางเศรษฐกิจและความอยู่รอดของสังคม วัฒนธรรม หรือ วัฒนธรรมในหน่วยงาน ก็ทำหน้าที่คล้ายคลึงกับวัฒนธรรมของสังคม เช่น วัฒนธรรมองค์การในส่วนที่เกี่ยวข้องกับการให้รางวัล (การขึ้นเงินเดือน การเลื่อนตำแหน่ง) และการลงโทษ (การภาคทัณฑ์ การไล่ออก) ช่วยสื่อให้สมาชิกของหน่วยงานทราบถึงแนวทางการประพฤติปฏิบัติและการทำงานที่หน่วยงานคาดหวัง ถ้าสมาชิกประพฤติปฏิบัติตามก็ช่วยให้ปัญหาบางประการ เช่น (การลาออก) ทุเลาเบาลงและงานจะดำเนินไปอย่างมีระบบและเป็นมาตรฐานเดียวกันมากขึ้น ดังนั้นเมื่อวัฒนธรรมองค์การมีบทบาทภายในหน่วยงานหลายประการ การศึกษาวัฒนธรรมองค์การจึงเป็นเรื่องสำคัญและน่าสนใจควบคู่กันไป
กลยุทธ์การสร้างวัฒนธรรมองค์การ
          กำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กร คำว่ากลยุทธ์หมายถึงแนวทางหรือสะพานเชื่อมช่องว่างระหว่างสิ่งที่เราเป็นอยู่ไปสู่สิ่งที่เราต้องการจะเป็นการกำหนดกลยุทธ์ในการสร้างวัฒนธรรมองค์กรนิยมทำกันใน 2 ลักษณะคือ  
       1. การเปลี่ยนแปลงแบบค่อยเป็นค่อยไป จากวัฒนธรรมที่เปลี่ยนได้ง่ายไปสู่การเปลี่ยนแปลงที่ยุ่งยาก หรืออาจจะเป็นการสร้างกระแสวัฒนธรรมใหม่กลบกระแสวัฒนธรรมเก่า การเปลี่ยนแปลงจะแทรกซึมอยู่ในทุกกิจกรรม เป็นการสร้างวัฒนธรรมแบบกองโจรเพราะเป็นการเก็บเล็กผสมน้อยไปเรื่อยๆ    การเปลี่ยนแปลงแบบนี้จะส่งผลกระทบต่อคนในองค์กรน้อย แต่ต้องใช้ระยะเวลานาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งองค์กรที่มีอายุยาวนานและมีวัฒนธรรมดั้งเดิมแข็งแกร่ง       2. การเปลี่ยนแบบผ่าตัด เป็นการเปลี่ยนแปลงทันทีทันใด อาจจะมีการเจ็บปวดบ้างในช่วงแรก แต่ได้ผลดีในระยะยาว เพราะทุกอย่างชัดเจน ทุกคนทราบว่าตัวเองจะอยู่ได้หรือไม่ได้ในวัฒนธรรมองค์กรแบบใหม่ หลายองค์กรนิยมยืมมือบุคคลที่สามเข้ามาทำการผ่าตัด บางองค์กรมักจะผ่าตัดเพื่อกำหนดวัฒนธรรมองค์กรไปพร้อมๆกับการผ่าตัดโครงสร้างองค์กร เปรียบเสมือนกับการที่คุณหมอเปลี่ยนทัศนคติของคนไข้เมื่อคนไข้อยู่ในภาวะเจ็บป่วย เพราะในช่วงเวลานั้นคนไข้มักจะเชื่อฟังคุณหมอมากกว่าตอนที่ร่างกายเป็นปกติ 
แนวทางการนำวัฒนธรรมองค์การไปใช้
          เนื่องจากปัญหาส่วนใหญ่ที่พบใน องค์การคือ การนำแผน และกลยุทธ์ไปสู่การปฏิบัติ เพราะแผนและกลยุทธ์ที่ถูกกำหนดอย่างดีจะไม่มีความหมายเลยถ้านำไปปฏิบัติไม่ ได้ จากเหตุผลดังกล่าวทำให้นักบริหารพยายามค้นหาตัวแปรที่จะทำให้การนำไปสู่การ ปฏิบัติมีประสิทธิภาพสูงสุด โดยหลายองค์การได้นำเอาวัฒนธรรมองค์การมาประยุกต์ใช้ ซึ่งพบว่าในการดำเนินงานสามารถสร้างให้เกิดประสิทธิภาพในการทำงานได้ใน ลักษณะที่เป็นธรรมชาติมาก            กล่าวคือไม่ต้องมีการสั่งการ และ การออกกฎระเบียบ เพื่อใช้บังคับพฤติกรรมบุคคลในองค์การ ซึ่งเดิมเคยอาจใช้ได้ผลซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นลักษณะของการถูกบังคับ ซึ่งเป็นผลทำให้ประสิทธิภาพที่เกิดขึ้นมีผลแค่เพียงในระยะเวลาสั้น เมื่อเทียบกับการควบคุมโดยประยุกต์ใช้วัฒนธรรมองค์การที่เกิดขึ้นในลักษณะ ตามธรรมชาติ