วันศุกร์ที่ 14 มกราคม พ.ศ. 2554

กิจกรรมที่ 11

การกำหนดมาตรฐานคุณภาพของครูในการจัดการเรียนการสอนที่มีประสิทธิภาพ ครูจะต้องทำกิจกรรม 7 อย่างคือ 1) การวิเคราะห์หลักสูตร 2) การวิเคราะห์ผู้เรียน 3) การจัดกิจกรรมที่หลากหลาย  4) การใช้เทคโนโลยีเป็นแหล่งและสื่อการเรียนรู้ของตนเองและนักเรียน  5) การวัดและประเมินผลตามสภาพจริงอย่างรอบด้านและเน้นพัฒนาการ 6) การใช้ผลการประเมินเพื่อแก้ไขปรับปีรุงและพัฒนาการจัดการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาผู้เรียนให้เต็มศักยภาพ  7) การใช้การวิจัยปฏิบัติการในการพัฒนานวัตกรรมเพื่อการเรียนรู้ของนักเรียนและการสอนของตน
     
จากประเด็นดังกล่าว นักศึกษาจะนำวิธีดังกล่าวมาจัดการเรียนการสอนให้มีประสิทธิภาพได้อย่างไร เมื่อนักศึกษาได้ลงมือปฏิบัติการเรียนการสอนให้แก่ผู้เรียนโดยเน้นผู้เรียนเป็นสำคัญ  (ข้อสอบ 20 คะแนน) ยกตัวอย่างออกแบบการจัดการเรียนรู้
.การจัดการศึกษาให้ผู้เรียนมี ความรู้คู่คุณธรรม ผู้เรียนมีคุณธรรม   จริยธรรมและค่านิยมอันพึงประสงค์มีความสามารถในการคิดวิเคราะห์    สังเคราะห์   และมีวิสัยทัศน์ ที่ดีกว้างไกล   ดังนั้นการจัดการศึกษา จึงมีความจำเป็นและเป็นหน้าที่ที่สำคัญของโรงเรียนที่ต้องจัดการศึกษามีการส่งเสริม  และสนับสนุนให้ครูจัดกิจกรรมการเรียนการสอนโดยจัดการศึกษาที่เน้นผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง  และมาตรฐานด้านปัจจัยกำหนดให้ครูมีความสามารถในการเรียนการสอนได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด
2.เน้นให้ผู้เรียนได้เห็นประโยชน์ของสังคม   เรียนรู้ร่วมกัน มีการทำงานร่วมกัน  ฝึกฝนให้รู้จักการใเทคนิคและวิธีการแก้ปัญหาด้วยตนเอง  มีอิสระและรับผิดชอบ                                                              
 3.ครูต้องมีการวางแผนการจัดกิจกรรม เตรียมสื่อการสอนกำกับดูและกระบวนการจัดกิจกรรม ส่งเสริมการนำความรู้ไปใช้ ดังนั้นครูจึงจำเป็นต้องมีการ เตรียมการสอนเพื่อเป็นเครื่องช่วยให้ครูได้พัฒนาการจัดกระบวนการเรียนรู้อย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพ ไปสู่จุดประสงค์การเรียนรู้และจุดหมายของหลักสูตร
 
  4. การที่เราจะจัดการเรียนการสอนจากการสังเกต  วัดผล  ทดสอบต่างๆ  เรานำมาวิจัยดูพฤติกรรมของผู้เรียนและนำไปพัฒนานวัตกรรมสื่อใหม่ๆเพื่อการเรียนรู้และปรับปรุงการสอนให้ดีขึ้นและนำประสบการณ์มาปรับปรุงและแก้ไขแล้วนำไปใช้ในอนาคต 
                                         แผนการจัดการเรียนรู้
        กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
                               สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม
                หน่วยการเรียนรู้ที่ 1.5 เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา       
            แผนการเรียนรู้ที่ 5 เรื่อง วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา    เวลา 2 ชั่วโมง
สอนวันที่ 3,5   เดือน ธันวาคม พ.ศ. 2553       ภาคเรียนที่ 2      ปีการศึกษา 2553
1. สาระสำคัญ
          วันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เป็นวันที่เกิดเหตุการณ์สำคัญๆ ทางพระพุทธศาสนาขึ้นในสมัยพุทธกาล พุทธศาสนิกชนจะยึดถือเอาวันเหล่านั้นเป็นวันที่ควรระลึกถึงคุณของพระรัตนตรัยเป็นพิเศษ พุทธศาสนิกชนนิยมประกอบศาสนาพิธีเพื่อเป็นการบูชาและประพฤติให้ถูกต้องในวันสำคัญ และพิธีกรรมต่างๆ อย่างเหมาะสม
2. มาตรฐานการเรียนรู้
1.3 ประพฤติปฏิบัติตนตามหลักธรรม และศาสนพิธีของพระพุทธศาสนา หรือศาสนาที่ตนนับถือ ค่านิยมที่ดีงาม และสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนาตน บำเพ็ญประโยชน์ต่อสังคม สิ่งแวดล้อม เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
3. มาตรฐานการเรียนรู้ช่วงชั้น
ส 1.3.1 รู้และปฏิบัติตนตามหลักศีลธรรม คุณธรรม จริยธรรม ค่านิยมที่ดีงาม หลักธรรมทางศาสนาที่ตนนับถือในเรื่องที่เกี่ยวกับตนเอง กลุ่มสังคมที่ตนเป็นสมาชิก และสิ่งแวดล้อมที่ใกล้ตัว ชุมชนและประเทศชาติ เพื่อการอยู่ร่วมกันได้อย่างสันติสุข
ส 1.3.2 ใช้ภาษาในคัมภีร์ที่ใช้ในศาสนาที่ตนนับถือ และร่วมศาสนพิธี พิธีกรรม วันสำคัญทางศาสนาด้วยความเต็มใจ
4. ผลการเรียนรู้ที่คาดหวัง
มีความรู้ ความเข้าใจ บอกความหมาย เห็นความสำคัญ รู้เข้าใจเหตุการณ์สำคัญ ๆและปฏิบัติกิจกรรมที่พึงกระทำในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาได้ด้วยความศรัทธาและถูกต้องเหมาะสม
5. จุดประสงค์การเรียนรู้
         1. บอกความหมายความสำคัญ ที่เกิดขึ้นในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา
         2. ปฏิบัติกิจกรรมที่พึงกระทำในวันสำคัญทางพระพุทธ ศาสนา ได้ด้วยความศรัทธา
6. ปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
1. ด้านวัฒนธรรมและศาสนา ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา ทะนุบำรุงศาสนา และปฏิบัติตนในแนวทางที่ดี
2. ด้านสังคม ควรมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่มีน้ำใจต่อกัน และมีความสามัคคี ทั้งใน
ครอบครัว โรงเรียนและชุมชน
7. สาระการเรียนรู้
            วันสำคัญทางศาสนา
                    - วันอัฏฐมีบูชา
                    - วันอาสาฬหบูชา
8. กิจกรรมการเรียนรู้
ชั่วโมงที่ 1 ใช้เทคนิคการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยยึดเด็กเป็นสำคัญ
            1. นักเรียนสวดมนต์บูชาพระรัตนตรัยและ ทำสมาธิ ( 3-5 นาที)
            2. ครูทักทายสนทนาประสบการณ์ เกี่ยวกับการปฏิบัติตนในวันสำคัญทางศาสนาว่าเคยปฏิบัติตนอย่างไร และมีความรู้สึกอย่างไร
            3. ครูแจ้งจุดประสงค์การเรียนรู้และสาระการเรียนรู้
            4. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน เรื่อง วันสำคัญทางทางศาสนา จำนวน 10 ข้อ
            5. แบ่งนักเรียนออกเป็น 4 กลุ่ม คละความสามารถ ประกอบด้วย คนเก่ง 1 คน ปานกลาง 2 -3 คน  
            6. ครูชี้แนะในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาแต่ละวันมีความสำคัญอย่างไร วันสำคัญมีอะไรที่เป็นปรากฏการณ์ที่นักเรียนสังเกตเห็นได้
            7. นักเรียนและครูช่วยกันสรุปความรู้ที่ได้รับ จากการเรียนรู้ได้ตระหนักถึงคุณค่าของพระพุทธศาสนา มีความเอื้อเฟื้อมีน้ำใจทั้งในครอบครัว และสังคม
            8.นักเรียนดูภาพประกอบ กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา แล้วร่วมสนทนาซักถามอภิปรายความคิดเห็นเกี่ยวกับภาพ เพื่อให้นักเรียนเข้าใจยิ่งขึ้น โดยครูเป็นผู้ชี้แนะเพิ่มเติมภาพที่เกี่ยวข้องกับวันสำคัญทางศาสนา
             
9. อุปกรณ์ สื่อและแหล่งการเรียนรู้
            1. โปรแกรม power point เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา
            2. ใบงานที่ 1 เรื่อง วันสำคัญทางศาสนา
            3. ใบงานที่ 2 เรื่อง เหตุการณ์วันสำคัญทางศาสนา
            4. หนังสือ สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2
            5. ภาพการแสดงธรรมในวันสำคัญทางศาสนา
10. การวัดผลและประเมินผล
            10.1 วิธีการวัด/สิ่งที่วัด
                        1. การตรวจใบงาน
                        2. การสังเกตการณ์ทำงานอย่างสร้างสรรค์และมีวิจารณญาณ
                        3. การสังเกตพฤติกรรมรายบุคคล
                        4. การสังเกตพฤติกรรมกลุ่ม
               5. การตรวจผลงานจากแบบทดสอบ
              6.การตรวจผลงานแผนผังความคิด
           10.2 เครื่องมือวัด
                        1. แบบประเมินผลการทำข้อทดสอบก่อนเรียน หลังเรียน
                        2. แบบประเมินพฤติกรรมการอภิปรายและบันทึกผล
                        3. แบบประเมินพฤติกรรมรายบุคคลและรายกลุ่ม
                        4. แบบบันทึกประเมินการฝึกปฏิบัติใบงานที่ 1 และใบงานที่ 2
            10.3 การประเมินผล
                        1. ผลการปฏิบัติใบงานที่ 1
                        2. ผลการปฏิบัติใบงานที่ 2
                        3.ผลการปฎิบัติจากการทำแผนผังความคิด
4. ผลทดสอบหลังเรียน
เกณฑ์การวัด
            ผ่านเกณฑ์       นักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินตั้งแต่ร้อยละ 50 ขึ้นไป
            ไม่ผ่านเกณฑ์   นักเรียนผ่านเกณฑ์ประเมินน้อยกว่าร้อยละ 50

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น